กระวาน

ชื่อสมุนไพร

กระวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Wurfbainia testacea (Ridl.) Skornick. & A. D. Poulsen

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ผงแก่ชงน้ำบรรเทาอาการท้องอืด

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • กระวานเป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยาธาตุอบเชย สำหรับขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
    • ตำรับยาแสงหมึก สำหรับแก้ตัวร้อน แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ แก้แผลในปาก แก้ละออง
    • ตำรับยาแก้ไข้ทับระดู
    • ตำรับยาแก้ดากออกในเด็ก
    • ตำรับยาแก้ริดสีดวงจมูก
    • ตำรับยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก

           *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ หรือไขมันพอกตับ จำนวน 361 คน รับประทานกระวาน ขนาด 3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2-3 เดือน พบว่า ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่ไม่มีผลลดคอเลสเตอรอล ระดับไขมันไม่ดี (LDL) และไม่เพิ่มไขมันดี (HDL)

           *สูง, แนะนำให้ใช้ แต่ไม่ได้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาและห้ามใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันสำหรับลดไขมัน

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. ลลิตา วีระเสถียร, มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย. ดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรอย่างปลอดภัย ฉบับปรับปรุง 2562. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2562.
  2. hekarchizadeh-Esfahani P, Arab A, Ghaedi E, Hadi A, Jalili C. Effects of cardamom supplementation on lipid profile: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled clinical trials. Phytother Res. 2020;34(3):475-85.
  3. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2564.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154631